วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Nature of science

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of science)

ความหมายของวิทยาศาสตร์
          วิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่ได้จากการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ซึ่งความรู้ต่างๆ เหล่านี้มีอยู่อย่างมากมาย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้แบ่งออกอย่างกว้างๆ เป็น 2 ประเภท
1. สาขาของวิทยาศาสตร์
    1.1 วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) หรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science)
          คือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่บรรยายถึงความเป็นไปของปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ อันประกอบไปด้วย ข้อเท็จจริง หลักการ ทฤษฏี กฎ และสูตรต่างๆ เป็นความรู้พื้นฐานของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้มาเพื่อสนองความต้องการอยากรู้อยากเห็น แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 3 กลุ่มคือ
         1) วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) คือ วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ รวมถึงอุตุนิยมวิทยา และธรณีวิทยา เป็นต้น
         2) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) คือ วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ จุลชีววิทยา เป็นต้น
         3) วิทยาศาสตร์สังคม (Social Science) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาหาความรู้ เพื่อจัดระบบให้มนุษย์มีการดำรงชีวิตอยู่ด้วยกัน อย่างมีแบบแผน เพื่อความสงบสุขของสังคม ประกอบด้วย วิชาจิตวิทยา วิชาการศึกษา วิชารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
     1.2 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือ วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่างๆที่มุ่งประโยชน์ในทางปฏิบัติยิ่งกว่าทฤษฏี โดยนำเอาความรู้จากวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ มาประยุกต์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมสนองความต้องการของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น แพทย์ศาสตร์ สัตวแพทย์ศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิศวกรรม และโภชนาการ เป็นต้น
           สรุป คือ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เป็นความรู้ในเรื่องต่างๆ ซึ่งมักเป็นสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่มีลักษณะเป็นทฤษฏี หลักการ กฎ หรือสูตรต่างๆ วิทยาศาสตร์ประยุกต์เป็นการใช้ความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์ โดยเน้นในทางปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Knowledge)
          ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ได้ถูกจัดแบ่งออกเป็นลำดับขั้นไว้ 6 ประเภท คือ ข้อเท็จจริง มโนมติ หลักการ สมมติฐาน กฎ และทฤษฎี
1. ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Fact)
          ข้อเท็จจริง เป็นข้อความหรือเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามจริง ข้อเท็จจริง เป็นความรู้พื้นฐานเบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์ ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติและสิ่งต่างๆโดยตรง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ผลที่ได้จากการสังเกตและการวัด เหมือนเดิมไม่ว่าจะกระทำกี่ครั้ง และเป็นข้อมูลที่เป็นจริงเสมอไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ข้อเท็จจริงมีลักษณะเป็นข้อความเดี่ยวๆ ที่ตรงไปตรงมา ตัวอย่างของข้อเท็จจริง เช่น น้ำแข็งลอยน้ำได้ น้ำไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ เป็นต้น
2. มโนมติ (Concept)
           มโนมติ หมายถึง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ มโนมติเป็นความคิดความเข้าใจของแต่ละบุคคล แต่ละบุคคลย่อมมีมโนมติเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแตกต่างกัน ขึ้นกับความรู้เดิมและประสบการณ์ที่มีอยู่ และวุฒิภาวะของบุคคลนั้นๆ ซึ่งมโนมติอาจเกิดจากการนำข้อเท็จจริงหรือความรู้จากประสบการณ์อื่นๆหลายๆ อย่างมาประกอบกัน แล้วสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง ตัวอย่างของมโนมติ เช่น น้ำแข็งคือน้ำที่อยู่ในสถานะของแข็ง
3. หลักการ (Principle)
          หลักการ จัดเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่งที่เป็นความจริงสามารถทดสอบได้ และได้ผลเหมือนเดิม เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าใจตรงกัน สามารถใช้อ้างอิงได้ แต่มโนมติเกี่ยวกับสิ่งเดียวกันของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นกับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล (สุโขทัยธรรมาธิราช, 2541: 26) หลักการอาจผสมผสานจากมโนมติ ตั้งแต่ 2 มโนมติที่สัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน ตัวอย่างของหลักการได้แก่ แสงจะหักเหเมื่อเดินทางจากตัวกลางชนิดหนึ่ง ไปยังตัวกลางอีกชนิดหนึ่งที่มีความหนาแน่นไม่เท่ากัน มาจากมโนมติหลายมโนมติ ได้แก่ แสงจะหักเหเมื่อเดินทางผ่านน้ำไปสู่กระจก และแสงจะหักเหเมื่อเดินทางผ่านกระจกไปสู่อากาศ
4. สมมติฐาน (Hypothesis)
           สมมติฐาน คือ เป็นการลงความคิดเห็นประเภทหนึ่ง เป็นข้อความที่คาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้า ก่อนจะดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเป็นจริงของเรื่องนั้นๆ สมมติฐานอาจเป็นข้อความหรือแนวความคิด ที่แสดงการคาดคะเนในสิ่งที่ไม่สามารถตรวจสอบได้โดยการสังเกตโดยตรง หรือเป็นสิ่งที่แสดงความสัมพันธ์ที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้น
           สมมติฐานมีความจำเป็นและมีความสำคัญมากต่อวิทยาศาสตร์ เพราะการค้นหาความรู้วิทยาศาสตร์ใหม่ๆจะไม่เกิดขึ้น สมมติฐานจะเป็นที่ยอมรับก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าสมมติฐานนั้นถูกต้อง มีหลักฐานหรือเหตุผลมาสนับสนุน ถ้ามีหลักฐานมาสนับสนุนไม่เพียงพอหรือมีข้อคัดค้าน สมมติฐานนั้นก็ใช้ไม่ได้ต้องถูกยกเลิกไป นักวิทยาศาสตร์ก็จะเสาะหาสมมติฐานอันใหม่ต่อไป แต่สมมติฐานที่เป็นที่ยอมรับในสมัยหนึ่ง อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกไป เมื่อมีผู้ค้นพบหลักฐานที่คัดค้านสมมติฐานนั้น แต่บางสมมติฐานที่ตั้งขึ้นเป็นเวลานานโดยไม่มีการคัดค้านได้ สมมติฐานนั้นก็จะได้รับการยอมรับ และเปลี่ยนไปเป็นหลักการ ทฤษฎี และกฎต่อไป
5. กฎ (Law)
          กฎ เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับหลักการ คือ ต้องได้รับการพิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง มีลักษณะที่เป็นจริงเสมอ แต่กฎเป็นหลักการที่มักจะเน้นในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล เช่น กฏของบอยล์ ซึ่งกล่าวว่า “ถ้าอุณหภูมิคงที่ ปริมาตรของแก๊สจะเป็นปฏิภาคผกผันกับความดัน” อยู่ในรูปสมการ คือ (ถ้า T คงที่) แม้กฎจะถูกตั้งมาจากข้อความที่ได้รับการยอมรับมานานก็ตาม แต่ เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีข้อความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นและขัดแย้งกับกฎเดิมๆ และหากพิสูจน์ได้ว่าความรู้ใหม่มีความถูกต้องมากกว่า กฎที่มีอยู่แล้วอาจต้องมีข้อยกเว้นหรือถูกยกเลิกไป
          กฎเป็นหลักการที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล แต่กฎไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ว่า ทำไมความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลจึงเป็นเช่นนั้น
6. ทฤษฏี (Theories)
            ทฤษฎี เป็นความรู้วิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นข้อความที่ใช้ในการอธิบายข้อเท็จจริง หลักการ และกฎต่างๆ ในการแสวงหาความจริงของนักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ใช้การสังเกตการสรุปรวมข้อมูล การคาดคะเนซึ่งทำให้เกิดความรู้วิทยาศาสตร์ต่างๆ ตั้งแต่ข้อเท็จจริง หลักการ สมมติฐาน และกฎ และตั้งทฤษฎี เพื่อ อธิบายข้อเท็จจริงหรือหลักการเหล่านั้นที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ

Scientific literacy

Scientific literacy
           Scientific literacy is one of several types of literacy: written, numerical, and digital, According to the United States National Center for Education Statistics.

           Scientific literacy is the knowledge and understanding of scientific concepts and processes required for personal decision making, participation in civic and cultural affairs, and economic productivity. It also includes specific types of abilities.

           Scientific literacy means that a person can ask, find, or determine answers to questions derived from curiosity about everyday experiences. It means that a person has the ability to describe, explain, and predict natural phenomena.

           Scientific literacy entails being able to read with understanding articles about science in the popular press and to engage in social conversation about the validity of the conclusions.

            Scientific literacy implies that a person can identify scientific issues underlying national and local decisions and express positions that are scientifically and technologically informed. A literate citizen should be able to evaluate the quality of scientific information on the basis of its source and the methods used to generate it.

            Scientific literacy also implies the capacity to pose and evaluate arguments based on evidence and to apply conclusions from such arguments appropriately.

การรู้วิทยาศาสตร์ (Science Literacy)


             การรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) เป็นความรอบรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งหมายถึง การที่บุคคลสามารถเข้าใจในทุกแง่มุมของความรู้วิทยาศาสตร์ อย่างถ่องแท้ ลึกซึ้ง ทั้งด้านธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of Science) ด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Science Knowledge) และด้านจิตวิทยาศาสตร์ (Habits of Mind) การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การดำเนินกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ สามารถนำเอาความรู้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

         1. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of Science) คือ

          ความรู้ที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง หลักการ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ (knowledge of science) และวิธีที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประวัติวิทยาศาสตร์ ปรัชญาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีที่มีวิทยาศาสตร์เข้าไปเกี่ยวข้อง (knowledge about science)

          2. จิตวิทยาศาสตร์ (Habits of mind)

          การเห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ตลอดจนตระหนักและตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม สมเหตุสมผล คำนึงถึงผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อสังคม (Impact of science and technology on society)

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การปฎิรูปวิทยาศาสตร์ศึกษา:กรณีศึกษาประเทศเวียดนาม

สรุปการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ศึกษาในประเทศเวียดนาม



1. การบังคับใช้หลักสูตร มีหลักสูตรระดับชาติใช้เหมือนกันหมด
2. การบูรณาการกับการแยกเป็นรายวิชาเฉพาะ
           • ระดับประถม วิชาวิทยาศาสตร์จัดสอนรวมกับวิชาอื่นในวิชาการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
           • มีการแยกวิชาวิทยาศาสตร์ออกจากวิชาอื่นในระดับมัธยมต้น
3. เนื้อหาหลักสูตร
           หลักสูตรมีลักษณะบูรณาการ เน้นวิชาภาษาเวียดนามและคณิตศาสตร์มาก เพื่อเป็นพื้นฐาน
           สำคัญในการเรียนวิชาอื่นต่อไป



4. การผลิตครู
          • เรียนในมหาวิทยาลัยหลักสูตร 4-5 ปี เพื่อเป็นครูสอนมัธยมปลาย
          • เรียนในวิทยาลัยครูหลักสูตร 3 ปี เพื่อเป็นครูสอนมัธยมต้น



5. การสอบเพื่อสำเร็จการศึกษาในชั้นประโยค
          มีการสอบเพื่อสำเร็จการศึกษาในชั้นประโยคของระดับประถม มัธยมต้นและมัธยมปลาย
6. การประเมินผลโดยใช้ข้อสอบกลางหรือข้อสอบมาตรฐานระดับชาติ
         • ระดับประถมและมัธยมต้นสอบข้อสอบกลางของจังหวัด
         • ระดับมัธยมปลายต้องสอบข้อสอบกลางระดับชาติ
7. วิธีการวัดและประเมินผล
        ข้อสอบส่วนใหญ่รวมทั้งข้อสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเป็นข้อสอบแบบอัตนัยให้นักเรียน
        อธิบายและให้เหตุผล
8. แหล่งการเรียนรู้
        • ไม่มีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
        • มีศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง
        • มีห้องสมุดประชาชน
9. กิจกรรมส่งเสริม
          • มีกิจกรรมการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์
          • สื่อมวลชนมีหน้าสำหรับการศึกษาถึง 4 หน้าในหนังสือพิมพ์ทุกวันและมีรายการโทรทัศน์
          • ด้านการศึกษามีวารสารคณิตศาสตร์เยาวชนซึ่งได้รับความนิยมจากนักเรียนมาก
10. ระบบการคัดเลือก
          มีการคัดเลือกอย่างเป็นระบบตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอ จังหวัดและภาค
11. ระบบส่งเสริม
          มีโรงเรียนระดับมัธยมปลายที่จัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ 2 แบบ คือ
          • โรงเรียนที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยจัดการศึกษาสำ หรับผู้มีความสามารถพิเศษโดยเฉพาะ
          • โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาและฝึกอบรม จังหวัดละ 1 โรงเรียนและระดับภาคอีก 3 โรงเรียน
             มีการจัดทั้งชั้นเรียนปกติ และชั้นเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษมีการให้ครูจากมหาวิทยาลัย
             มาสอนหรือมาช่วยสอนเสริมให้



วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การวิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษา หมวด 4

หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา

มาตรา ๒๒

ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดและผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

มาตรา ๒๓

การจัดการศึกษาทุกระบบ ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา เกี่ยวกับ ตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และความรู้ทั้ง 8 สาระการเรียนรู้

มาตรา ๒๔

การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคลอ้งกับความสนใจของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง ให้คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนต้แงบูรณาหาร ความรู้ด้านต่าง ๆ ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับ บิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

มาตรา ๒๕

รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ

มาตรา ๒๖

ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย

มาตรา ๒๗

ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตร ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

มาตรา ๒๘

หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งหมายพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม

และความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม

มาตรา ๒๙

ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการและจัดให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน

มาตรา ๓๐

ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา