วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การปฎิรูปวิทยาศาสตร์ศึกษา:กรณีศึกษาประเทศเวียดนาม

สรุปการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ศึกษาในประเทศเวียดนาม



1. การบังคับใช้หลักสูตร มีหลักสูตรระดับชาติใช้เหมือนกันหมด
2. การบูรณาการกับการแยกเป็นรายวิชาเฉพาะ
           • ระดับประถม วิชาวิทยาศาสตร์จัดสอนรวมกับวิชาอื่นในวิชาการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
           • มีการแยกวิชาวิทยาศาสตร์ออกจากวิชาอื่นในระดับมัธยมต้น
3. เนื้อหาหลักสูตร
           หลักสูตรมีลักษณะบูรณาการ เน้นวิชาภาษาเวียดนามและคณิตศาสตร์มาก เพื่อเป็นพื้นฐาน
           สำคัญในการเรียนวิชาอื่นต่อไป



4. การผลิตครู
          • เรียนในมหาวิทยาลัยหลักสูตร 4-5 ปี เพื่อเป็นครูสอนมัธยมปลาย
          • เรียนในวิทยาลัยครูหลักสูตร 3 ปี เพื่อเป็นครูสอนมัธยมต้น



5. การสอบเพื่อสำเร็จการศึกษาในชั้นประโยค
          มีการสอบเพื่อสำเร็จการศึกษาในชั้นประโยคของระดับประถม มัธยมต้นและมัธยมปลาย
6. การประเมินผลโดยใช้ข้อสอบกลางหรือข้อสอบมาตรฐานระดับชาติ
         • ระดับประถมและมัธยมต้นสอบข้อสอบกลางของจังหวัด
         • ระดับมัธยมปลายต้องสอบข้อสอบกลางระดับชาติ
7. วิธีการวัดและประเมินผล
        ข้อสอบส่วนใหญ่รวมทั้งข้อสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเป็นข้อสอบแบบอัตนัยให้นักเรียน
        อธิบายและให้เหตุผล
8. แหล่งการเรียนรู้
        • ไม่มีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
        • มีศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง
        • มีห้องสมุดประชาชน
9. กิจกรรมส่งเสริม
          • มีกิจกรรมการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์
          • สื่อมวลชนมีหน้าสำหรับการศึกษาถึง 4 หน้าในหนังสือพิมพ์ทุกวันและมีรายการโทรทัศน์
          • ด้านการศึกษามีวารสารคณิตศาสตร์เยาวชนซึ่งได้รับความนิยมจากนักเรียนมาก
10. ระบบการคัดเลือก
          มีการคัดเลือกอย่างเป็นระบบตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอ จังหวัดและภาค
11. ระบบส่งเสริม
          มีโรงเรียนระดับมัธยมปลายที่จัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ 2 แบบ คือ
          • โรงเรียนที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยจัดการศึกษาสำ หรับผู้มีความสามารถพิเศษโดยเฉพาะ
          • โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาและฝึกอบรม จังหวัดละ 1 โรงเรียนและระดับภาคอีก 3 โรงเรียน
             มีการจัดทั้งชั้นเรียนปกติ และชั้นเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษมีการให้ครูจากมหาวิทยาลัย
             มาสอนหรือมาช่วยสอนเสริมให้



วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การวิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษา หมวด 4

หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา

มาตรา ๒๒

ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดและผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

มาตรา ๒๓

การจัดการศึกษาทุกระบบ ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา เกี่ยวกับ ตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และความรู้ทั้ง 8 สาระการเรียนรู้

มาตรา ๒๔

การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคลอ้งกับความสนใจของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง ให้คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนต้แงบูรณาหาร ความรู้ด้านต่าง ๆ ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับ บิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

มาตรา ๒๕

รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ

มาตรา ๒๖

ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย

มาตรา ๒๗

ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตร ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

มาตรา ๒๘

หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งหมายพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม

และความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม

มาตรา ๒๙

ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการและจัดให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน

มาตรา ๓๐

ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา